“วัดศรีโคมคำ นมัสการพระเจ้าตนหลวงพระนั่งบนดิน โบสถ์กลางน้ำ พระพุทธบาทลำลอง ”

วัดศรีโคมคำ พระวิหารหลังเก่าสร้างมานานชำรุดทรุดโทรม พระยาประเทศอุดรทิศทรงรื้อแล้วก่อสร้างใหม่ โดยนายพัฒน์เป็นช่างก่อสร้างก่อสร้างเป็นเวลานานไม่เสร็จนายช่างพัฒน์มาถึงแก่กรรมไป จึงทอดทิ้งไว้ครั้นต่อมาการปกครองบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงจากเจ้าผู้ครองเมืองมาเป็นระบบการปกครองเป็นมณฑล เรียกมณฑลพายัพกระจายอำนาจการบริหารออกเป็นจังหวัด อำเภอตำบลหมู่บ้าน ตำแหน่งเจ้าผู้ครองก็เลิกร้างไป พระยาประเทศอุดรทิศกราบบังคมลาออกจากตำแหน่งทางการ จึงตั้งนายคลายบุษยบรรณ มาเป็นนายอำเภอเมืองพะเยา ในสมัยนั้นพระยาประเทศอุดรทิศแม้พ้นจากตำแหน่งแล้วก็ยังให้การอุปถัมภ์วัดศรีโคมคำเช่นเดิม มิได้ทรงทอดทิ้ง ขณะนั้นได้ทราบกิตติศัพท์ว่า ครูบาพระศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยเกิดขึ้น ท่านสังกัดอยู่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนท่านมีบารมีธรรมสูงทำการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์โบราณวัตถุสถานในเขตท้องที่จังหวัดลำพูน เชียงใหม่มีประชาชนเลื่อมใสมาก ข่าวนี้ได้แพร่สะพัดทั่วไปในแถบ ล้านนาไทยจึงได้ประชุมปรึกษากัน ทางฝ่ายคณะสงฆ์มีพระครูศรีวิราชวชิรปัญญาเจ้าคณะแขวงเมืองพะเยาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมืองมีพระยาประเทศอุดรทิศ อดีตเจ้าผู้ครองเมือง และนายคลายบุษยบรรณนายอำเภอเมืองพะเยา พร้อมด้วยพ่อค้า คหบดีประชาชนต่างก็มีความเห็นชอบพร้อมเพรียงกัน จังไปอาราธราครูบาศรีวิชัยมาเป็นประธานก่อสร้างพระวิหารวัดศรีโคมคำ โดยใช้ให้พระปัญญา

วัดบ้านปินและจ่าสิบตำรวจเอกอ้ายพูนชัยไป อาราธนานิมนต์ท่านมาสร้างพระวิหาร ท่านสอบถามถึงประวัติความเป็นมาของพระเจ้าตนหลวงว่าเป็นมาอย่างไร เมื่อได้รับทราบตำนานว่าเป็นโบราณวัตถุอันเก่าแก่มีกลักฐานแน่นอน ท่านจึงรับว่าจะมานร้าง แต่มีเงื่อนไขว่า ให้คณะสงฆ์และประชาชนชาวพะเยาเตรียมวัสดุไว้ให้พร้อม อาทิอิฐ ปูน ทรายหินเหล็กไว้ให้พร้อม พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา จึงได้ประชุมปรึกษาคณะสงฆ์เจ้าคณะหมวด เจ้าอาวาสภิกษุสามเณรทุกวัดวาอารามเข้ามาตั้งปางกระท่อม ปั้นอิฐก็ได้ประมาณ 200,000ก้อนทรายหินโดยขอความร่วมมือผู้มีกำลังต่างก็หามาไว้จนครบถ้วนแล้วไปอาราธนาท่านอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวัสดุอุปกรณ์ครบถ้วยแล้ว ท่านรับนิมนต์ทันทีแล้วเตรียมเอาพระภิกษุผู้ชำนาญการกรอสร้างมาเป็น บริวารออกเดินทางมาจากจังหวัดลำพูนตาม ลำดับเส้นทางจนถึงเมืองพะเยา 

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2465 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 เหนือ วันที 28ธันวาคม พ.ศ. 2465 ขึ้น 11 ค่ำเริ่มลงมือรื้อพระวิหารหลังเก่าจนเสร็จเรียบร้อย วันเสาร์ที่ 6 มกราคมพ.ศ. 2466 ตรงกับวัน 7 ฯ 2 ค่ำ ปี จอ จุลศักราช1248 วางศิลาฤกษ์ ลงเสาพระวิหารใหญ่ต่อจากนั้นก็เทเสราพระวิหารต้นอื่นต่อไป ขุดรากฝาผนัง ก่อฝาผนัง และก่อกำแพงล้อมรอบ สร้างศาลาบาตร (ศาลาราย)รอบกำแพงวัดสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระพุทธบาทจำลองสร้างพร้อมกันทั้งหมดทุก ๆ หลังในคราวเดียวกันและก่อสร้างภายในปีเดียวเหมือนเนรมิต คิดค่าก่อสร้างเป็นจำนวน 113,000 รูป(รูปีหนึ่งคิดราคา 75 สตางค์) ครั้นวันที่ มีนาคมพ.ศ. 2467ทำบุญฉลองพระวิหารพร้อมกับศาสนาวัตถุอื่น ๆ ที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำบุญฉลองพระวิหารนานประมาณ 1 เดือน จึงแล้วเสร็จ

หลังจากทำบุญฉลองแล้วครูบาพระศรีวิชัยก็กลับไปจังหวัดเชียงใหม่เริ่มสร้างวิหารวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่จึงได้มอบหมายให้พระครูบาแก้ว คนฺธวํโส เป็นผู้รับภาระธุรการดูแลรักษาโบราณวัตถุและพระวิหารแทน วัดศรีโคมคำ ได้สร้างมานานประมาณ พ.ศ. 2034ตั้งแต่เริ่มสร้างพระเจ้าตนหลวงมาแล้ว เจ้าอาวาสองค์แรกที่ปรากฏในตำนานคือพระธรรมปาล ท่านผู้นี้ได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ คือได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่แก่ประชาชนที่หนีภัยสงครามแล้วกลับเข้ามาสู่เมืองพะเยา ภายหลังได้ ทราบเรื่องราวตำนานนี้แล้วก็เกิดศรัทธาปสาทะยิ่งใหญ่ อยู่ต่อมาอีกประมาณ 404 ปี จุลศักราช 1219 พ.ศ. 2400 พระกัปปินะเป็นเจ้าอาวาสอักครั้งหนึ่ง มีบันทึกในหนังสือสมุดข่อย บันทึกไว้ว่า แสนทักขิณะ เขียน ดวงชาตาพระเจ้าตนหลวง มีพระธรรมปาละ เขียนไว้ให้ท่านได้รับทราบ แสดงว่าวัดศรี โคมคำเป็นวัดมาแต่โบราณกาล แต่มาในยุคหลังบ้านเมืองตกอยูู่ในช่วงสงคราม จึงโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมืองที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอารามรกร้างว่างเปล่าไป

ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมือง วัดวาอารามก็ถูกบูรณะก่อสร้างขึ้นโดยลำดับ วัดศรีโคมคำ เริ่มก่อสร้างขึ้นหลังสุดเมื่อปี พ.ศ. 2465 พระครูศรีวิราชปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมืองอดีตเจ้าผู้ครองเมืองพะเยาพระยาประเทศอุดรทิศและอดีตนายอำเภอเมือพะเยาคือ หลวงสิทธิประสาสน์ (นายคลาย บุษยบรรณ)นายอำเภอเมืองพะเยาคนแรก ได้ร่วมใจกันอาราธนานิมนต์พระครูบาศรีวิชัย จังหวัดลำพูน มาเป็นประธานนั่งหนักในการก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ จนสำเร็จบริบูรณ์ดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ท่านก็มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ ลำดับเจ้าอาวาสมีดังนี้ พ.ศ. 2465-2467 พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยาเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2488-2506 ครูบาปัญญา ปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2506 – 2509 ครูบาแก้ว คนฺธวํโส เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2509

พระโสภณธรรมมุนี เจ้าคณะอำเภอเมืองพะเยา (พระธรรมวิมลโมลี) เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ และได้รับแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2511 จนถึงปัจจุบัน

พระอุโบสถกลางน้ำ พระอุโบสถหลังใหม่ของวัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา เป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์
สร้างขึ้นโดยศรัทธาประชาชน ซึ่งบริษัท มติชนจำกัด โดยคุณขรรค์ชัย บุนปาน เป็นผู้ประสานงาน คุณนิยม สิทธหาญ มัณฑนากรจากมหาวิทยาลัยศิลปกร และคุณจินดา สหสมร สถาปนิกจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยร่วมกันออกแบบ
จิตรกรรมฝาผนัง เขียนโดยคุณอังคาร กัลยาณพงษ์ และคุณภาพตะวัน สุวรรณกูฏ และทีมงาน


การเดินทาง : เขตเทศบาลเมืองพะเยา ถนนพหลโยธิน ห่างจากตัวเมืองไปทางเหนือประมาณ 1 กม. ติดกับกว๊านพะเยา

เปิดเวลา 08.30-16.30

ค่าเข้าชม 20 บาท/คน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : วัดศรีโคมคำ  054-410058-9

ททท.สำนักงานเชียงใหม่(เชียงราย,พะเยา)  053-717433, 053-700051-2

วัดศรีโคมคำ

แชร์

อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา 56000 แผนที่

รีวิว 2 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,วัด,ศาสนสถาน,สถานที่,วัด

No hours available

054-410058

https://www.thai-tour.com/thai-tour/north/payao/data/place/wat-srikomkham.htm

6847

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 2 รายการ)

Not identifiable

รีวิวเมื่อ 20 มิ.ย. 55

ผมได้ไปมาแล้ว

ถูกใจ แชร์

heartkub

รีวิวเมื่อ 5 ส.ค. 53

พระเจ้าตนหลวง สัญลักษณ์ ประจำจังหวัดพะเยา เมื่อมาถึงพะเยา พลาดไม่ได้ที่จะต้อง เข้ามานมัสการท่าน พระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร
พระเจ้าตนหลวง สัญลักษณ์ ประจำจังหวัดพะเยา เมื่อมาถึงพะเยา พลาดไม่ได้ที่จะต้อง เข้ามานมัสการท่าน พระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

หอวัฒนธรรมนิทัศน์ หอวัฒนธรรมนิทัศน์ (รีวิว 617 รายการ)

ห่าง 0.28 กิโลเมตร

วัดพระธาตุจอมทอง วัดพระธาตุจอมทอง (รีวิว 12 รายการ)

ห่าง 0.82 กิโลเมตร

อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.11 กิโลเมตร

วัดหลวงราชสัณฐาน วัดหลวงราชสัณฐาน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.46 กิโลเมตร

วัดป่าแดงบุญนาค วัดป่าแดงบุญนาค (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.63 กิโลเมตร

วัดศรีอุโมงค์คำ วัดศรีอุโมงค์คำ (รีวิว 465 รายการ)

ห่าง 1.70 กิโลเมตร

วัดราชคฤห์ วัดราชคฤห์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.80 กิโลเมตร

ถนนคนเดินกว๊านพะเยา ถนนคนเดินกว๊านพะเยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.00 กิโลเมตร

วัดติโลกอาราม วัดติโลกอาราม (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 2.28 กิโลเมตร

กว๊านพะเยา กว๊านพะเยา (รีวิว 12 รายการ)

ห่าง 2.66 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

เอ็มทู โฮเทล วอเตอร์ไซด์ เอ็มทู โฮเทล วอเตอร์ไซด์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.54 กิโลเมตร

จิรัส เฮ้าส์ จิรัส เฮ้าส์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.78 กิโลเมตร

สวนสน พะเยา สวนสน พะเยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.89 กิโลเมตร

บ้านมะกรูด บ้านมะกรูด (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.97 กิโลเมตร

โรงแรม เกทเวย์ พะเยา โรงแรม เกทเวย์ พะเยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.10 กิโลเมตร

ดี โฮเต็ล ดี โฮเต็ล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.14 กิโลเมตร

สบายเบสท์ โฮเทล พะเยา สบายเบสท์ โฮเทล พะเยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.19 กิโลเมตร

เอ็ม 2 พะเยา เอ็ม 2 พะเยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.30 กิโลเมตร

แฮปปี้เนส การ์เด้น แฮปปี้เนส การ์เด้น (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.32 กิโลเมตร

วิน โฮเทล พะเยา วิน โฮเทล พะเยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.34 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

ข้าวต้มบุฟเฟต์ พะเยา ข้าวต้มบุฟเฟต์ พะเยา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.83 กิโลเมตร

อันเจริญ อันเจริญ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.12 กิโลเมตร

ก๋วยเตี๋ยวผินผิน ก๋วยเตี๋ยวผินผิน (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.23 กิโลเมตร

ศรีเรือนกุ้งเต้นปลาเผา ศรีเรือนกุ้งเต้นปลาเผา (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 1.76 กิโลเมตร

ถ้วยก๋าไก่ ถ้วยก๋าไก่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.57 กิโลเมตร