“บ้านบุ มีพื้นที่ตั้งแต่บริเวณวัดสุวรรณารามจนถึงบริเวณรั้วตันซึ่งอยู่ติดกับโรงจักร-ธนบุรี ในสมัย กรุงธนบุรี บ้านบุเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณริมคลองคูเมืองฝั่งตะวันตกของราชธานี และในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ บ้านบุตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับกรุงเทพมหานครราชธานี”
ชุมชนบ้านบุ
บ้านบุเป็นชุมชนเก่าแก่ริมคลองบางกอกน้อย (ฝั่งใต้) นับตั้งแต่ สมัยอยุธยา และต่อมามีกลุ่มช่างฝีมืออพยพหนีภัยสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ปี พศ. 2310 มาตั้งถิ่นฐานที่ บ้านบุ กลุ่มช่างเหล่านี้ยังคงยืดและสืบทอดการทำเครื่องทองสำริดด้วย การผลิตภาชนะลงหินด้วยวิธีการลง "บุ" ซึ่งหมายถึง การขึ้นรูปชิ้นงานโลหะด้วยการตี บีบอัดเนื้อโลหะให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการนั่นเอง ชุมชนเก่าแก่แห่งนี้เรียกขานกันว่า บ้านบุ
บ้านบุในอดีตจึงเป็นชุมชนที่ตั้งย่านตีขันอันลือชื่อนับตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เพระชาวบ้านบุส่วนใหญ่มีความรู้ความสาามารถดำรงชีพด้วยการตี พาน ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ และขัน ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นาน (พศ.2484-2488) เกิดการขาดแคลนวัสดุทองม้าฬ่อ (สำริด) และเริ่มมีขันที่ทำจากวัสดุอื่นๆในราคาที่ถูกกว่า การทำขันลงหินจึงค่อยเลิกราไปบ้างและมาหยุดชะงักเมือบ้านบุอยู่ในภาวะสงครามและถูกระเบิดทำลาย
เมือสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบชาวบ้านบุต่างเริ่มดีขึ้นอีก ระยะนี้จะมีการพัฒนารูปแบบแหล่งผลิตเป็นกงสีหรือโรงงานขนาดใหญ่ ที่เหลือเพียงไม่กี่แห่ง และปัจจุบันมีสืบทอดและพยายามรักษาการทำขันลงหินนี้อยู่เพียง 2 แห่ง คือ "บ้านขันลงหิน" ของคุณวิมลศรี (เจียม) แสงสัจจา และ "บ้านขันธ์หิรัญ' ของคุณเกษร ขันธ์หิรัญ หรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า "กงสีแม่เจียม" และ "กงสีโบ๋เอง"
- รถประจำทาง: 40 56 57 79 103 108
รถปรับอากาศ: 68 80 509 510 - เวลาทำการ: ทุกวัน 9.00-18.00น.
- ค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม: ไม่เสียค่าธรรมเนียม
- ที่จอดรถ: บริเวณภายในวัดสุวรรณาราม
- สถานที่ใกล้เคียง: วัดสุวรรณาราม สนง.เขตบางกอกน้อย