“วัดกำแพง เดิมชื่อวัดสว่างอารมณ์ ประมาณว่าสร้างตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พศ. 2300 สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองวิหารหลวงพ่ออู่ทอง มีปูชนีสถานที่สำคัญ คือ "หลวงพ่ออู่ทอง" หรือที่ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อโต ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงพ่ออู่ทอง เป็นพระปางสมาธิหน้าตักกว้าง 2.49 เมตร ศิลปะแบบอู่ทอง องค์พระพุทธรูปสันนิษฐานว่าเป็นหินทรายแดง นอกจากนี้มี "พระปรางค์" อายุประมาณ 300 ปี ปัจจุบันบูรณะซ่อมแซมใหม่แต่ยังรักษาสภาพเดิมไว้ ค้นพบเศรียรพระหินทรายแดงอยู่ภายในจากห้องใต้ดิน”
วัดกำแพง เป็นวัดโบราณที่สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฎ หลักฐานทางเอกสารแน่ชัดว่า สร้างขึ้นในช่วงเวลาใด จากการพิจารณา ลักษณะทางศิลปสถาปัตกรรม เท่าที่ยังพอปรากฎอยู่ในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าวัดกำแพงนี้ น่าจะสร้างขึ้นในช่วงอยุธยาตอนกลาง โดยอาจเป็นวัดสำคัญในสมัยที่เมืองธนบุรีศรี มหาสมุทร ที่ยังคงมีศูนย์กลางเมือง ตั้งอยู่บริเวณวัดศาลาสี่หน้าหรือ วัดคูหาสวรรค์ในปัจจุบัน ประกอบกับเมือพิจารณา รูปแบบทางศิลปสถาปัตยกรรม ของวัดโบราณในบริเวณใกล้เคียง ก็พบว่ามีลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็น สมัยอยุธยาตอนกลางถึงตอนปลายเช่นกัน รูปแบบศิลปสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ของวัดกำแพงที่ปรากฎในปัจจุบัน นี้ สันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบซึ่งถูกซ่อมบูรณะครั้งใหญ่ ในราวสมัยรัชกาลที่ ๔
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ มีรูปแบบทางศิลปกรรม ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในยุคที่สยามประเทศมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก มากขึ้นกว่าในอดีต อาทิ เช่น การเขียนภาพบ้านเรือน และบุคคลซึ่งเป็นชาวตะวันตก อันมีรายละเอียด บ่งบอกถึงการได้รับข่าวสาร หรือข้อมูลจิตรกรผู้เขียนภาพเกี่ยวกับ รูปแบบการดำรงชีวิต อากัปกิริยา รวมทั้งการแต่งกายของชาวตะวันตก ที่งดงามเสมือนสกุลช่างหลวง