“วัดเก่าแก่อายุกว่า 1,400 ปี ตั้งอยู่ใกล้กับวัดเขาพระอานนท์ มีโบราณสถานที่น่าสนใจคืออุโบสถเก่าแก่ ”
เขาพระนารายณ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "เขาศรีวิชัย" หรือ "เขาหัวบน" ตั้งอยู่ในเขต อ.พุนพิน อยู่ห่างจากวัดเขาพระอานนท์ หรือวัดเขาหัวล่าง เพียง 750 เมตร เป็นวัดเก่าแก่เช่นเดียวกับวัดเขาพระอานนท์
เขาศรีวิชัย มีลักษณะเป็นภูเขาลูกโดด สูงจากพื้นราบเพียง 33 เมตร มีคลองบางร่อนทองและคลองพุนพินไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออก ในอดีตภูเขาลูกนี้มีสภาพเป็นป่ารก จากการสำรวจครั้งแรกได้พบ
- เนินโบราณบนสันเขา 8 เนิน
- เนินโบราณด้านเชิงเขาทิศตะวันออก 3 เนิน และ
- เนินโบราณด้านเชิงเขาทิศตะวันตก 8 เนิน
สาเหตุที่ชื่อว่าเขาพระนารายณ์ มีเรื่องเล่าสืบต่อมาว่า เมื่อก่อนมีกองทับพม่าเข้ามารุกรานภาคใต้ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์(ผมเดาว่า สมัยสงคราม 9 ทัพ พ.ศ.2528) ก่องทัพพม่าได้ยกมาถึงบ้านหัวเขา และเที่ยวกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลย ชาวบ้านจึงพากันหนีขึ้นไปบนภูเขาซื่งเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์เก่าแก่ เมื่อทหารพม่าตามขึ้นไปกลับได้ยินแต่เสียงอื้ออึง แต่ไม่พบชาวบ้านแม้แต่คนเดียว ทหารพม่าเห็นดังนั้นก็โมโหโกรธาเป็นอันมาก จึงใช้ดาบฟันแขนเทวรูปจนหักแล้วถอยทัพกลับไป นับแต่นั้นมาชาวบ้านจึงนับถือความศักดิ์สิทธิ์แห่งเทวรูปพระนารายณ์ จึงเรียกขานนามว่า "เขาพระนารายณ์" และเรียกบริเวณที่ประดิษฐานเองค์เทวรูปว่าฐานพระนารายณ์ และจัดให้มีประเพณีสรงน้ำเทวรูปพระนารายณ์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ต่อเนื่องมาทุกปี จนกระทั่งทางราชการได้อัญเชิญเทวรูปพระนารายณ์ไปเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ค. 2470 ประเพณีดังกล่างจึงสิ้นสุดลง (รูปปั้นองค์ปัจจุบัน ตามภาพ เป็นองค์จำลอง)
จากการศึกษาทางด้านโบราณคดีที่ผ่านมา ทำให้ทราบว่า เดิมที่นี่เคยมีการอยู่อาศัยของชุมชน ราว พ.ศ. 11-12 โดยมีความสัมพันธ์กับชุมชนอื่นโดยรอบทั้งภาคพื้นดินและโพ้นทะเล มีการค้าขายเจริญรุ่งเรื่อง และรับอิทธิพลของพระพุทธศาสนาด้วย ซึ่งมีผลทำให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างทั้งบนเขาและพื้นที่โดยรอบมาตลอดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนพื้นที่ในบริเวณนี้จะถูกทิ้งร้างไป
พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ออกประกาศเรื่องการกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติกำหนดให้ เขาพระนารายณ์ แห่งนี้ เป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอน 34 หน้า 1533 ลงวันที่ 27 ก.ย. 2479
ในบริเวณนี้ ได้ค้นพบ พระพิมพ์ดินเผา ภาชนะดินเผ่า ยอดสถูปจำลอง-ดินเผา ฯลฯ
ในเขตบริเวณวันศรีวิชัย (อยู่อีกด้านของเขาพระนารายณ์) มีสิ่งที่น่าสนใจคืออุโบสถเก่าแก่ ตัวอุโบสถเป็นแบบก่ออิฐถือปูน ใช้ผนังรับน้ำหนักแทนเสา หลังคาเป็นโครงไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้ามีพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ ช่องประตูหน้าต่างต่างๆ ประดับด้วยเครืองถ้วยชามกระเบื้อง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยลงรักปิดทองจำนวน 11 องค์
เที่ยวได้ตลอดทั้งปี - ไม่มีค่าเข้าเยี่ยมชม