“วัดช้างค้ำวรวิหาร เจดีย์ช้างค้ำสีทอง ที่สร้างตามสถาปัตยกรรมทางภาคเหนือ ทำให้มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ทั้งภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา หรือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี”
วัดช้างค้ำวรวิหาร หรือชื่อเดิมคือ "วัดหลวงกลางเวียง" (นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่ออย่าง วัดช้างค้ำและวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร) สร้างขึ้นโดยเจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เมื่อปี พ.ศ.1949 ตัววิหารมีขนาดใหญ่ รูปทรง สร้างตามสถาปัตยกรรมทางภาคเหนือภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ตรงเชิงบันไดด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลาง ทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็ก อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธาน ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบัน ตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะ สถาปัตยกรรมล้านนาไทย
ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลัก ลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนกระย้าย้อย เหมือนลวดลาย ที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์
ภายในประดิษฐาน
เจดีย์ช้างค้ำ : ศิลปะสมัยสุโขทัย รอบเจดีย์มีรูปปั้นช้างปูนปั้นครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ
พระพุทธรูปทองคำปางลีลา หรือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี : ศิลปะสุโขทัย เป็นทองคำ 65% สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริม หนัก 69 บาท ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหาร : ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา(เจดีย์วัดช้างล้อม) สร้างด้วยอิฐถือปูน ที่ฐานมีช้างรวมทั้งหมด 24 เชือก แต่ละตัวโผล่มาแค่ครึ่งตัวจากส่วนหัว ปัจจุบันเจดีย์ได้รับการบูรณะซ่อมแซม และหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์
หอไตรวัดช้างค้ำวรวิหาร : สถาปัตยกรรมลักษณะเดียวกับวิหารและโบสถ์ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ หลังคาทำเป็นชั้นๆ ก่ออิฐทาสี เครื่องบนไม้สัก มุงกระเบื้อง และเพดานทำด้วยลวดลายต่างๆ อาคารก่ออิฐโบกปูน ยกพื้นสูงมีสิงห์ยืนอยู่ตรงเชิงบันใดด้านละ 1 ตัว ทำเป็นห้องไว้พระธรรมและพระไตรปิฏก มีทางเข้าด้านหน้าเป็นประตูทางเดียว บานประตูสลักเป็นรูปเทวดา 2 องค์ ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นวิหาร ใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมนี
การเดินทาง :
ตั้งอยู่กลางใจเมือง ในเขตเทศบาลเมืองน่าน เลขที่ 13 ถนนสุริยพงษ์ บ้านช้างค้ำ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ตรงข้ามวัดเป็นเทศบาลเมืองน่าน และศาลจังหวัดน่าน ปัจจุบันสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
ททท.สำนักงานแพร่(รับผิดชอบแพร่ น่าน อุตรดิตถ์) 054-521127,054-521118-9
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวน่าน 054-751169, 054-750247
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 5 รายการ)รีวิวเมื่อ 29 ก.ค. 55
รีวิวเมื่อ 11 ส.ค. 53
อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์ มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ
รีวิวเมื่อ 11 ส.ค. 53
รีวิวเมื่อ 11 ส.ค. 53
รีวิวเมื่อ 11 ส.ค. 53