“วัดเล่งเน่ยยี่ 2 จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาส งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539”
วัดเล่งเน่ยยี่ 2 ประวัติ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ เดิมเป็นโรงเจขนาดเล็ก บนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ต่อมา คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย โดยวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) ได้มอบหมายให้ พระเดชพระคุณพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว) เป็นประธานดำเนินการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ และ พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เป็นประธานที่ปรึกษาการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ โดยเปิดให้พุทธบริษัทไทย จีนได้ร่วมบุญ ในการจัดสร้าง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสดังกล่าว โดยมี นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง เป็นผู้ดำเนินการขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างวัดฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทั้งนี้ ทรงมีพระบรมราชานุญาต ซึ่งในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ โดยเมื่อเวลา 15.00 น. วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์วัด ปัจจุบัน วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ ได้จัดสร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการกว่า 12 ปี (2539 2551) ในบริเวณวัดประกอบด้วยวิหารต่างๆ ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรม ตามแนวปรัชญา และคติธรรมทางพระพุทธศาสนา จีนนิกายฝ่ายมหายาน อันประกอบด้วย วิหารพระกวนอิมโพธิสัตว์, วิหารหมื่นพุทธเจ้า, วิหารบูรพาจารย์, ห้องปฏิบัติธรรม, ที่พำนักสงฆ์ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีสมโภชเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงตัดหวายลูกนิมิตพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552
การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว จากแคราย ใช้ถนนงามวงศ์วาน ตรงมาจนถึงสี่แยกบางพลู เลี้ยวขวาเข้าเมืองบางบัวทอง จากนั้นจะมีป้ายบอกเมื่อถึงวัดฯ จากปิ่นเกล้า บางแค ใช้ถนนกาญจนาภิเษกตรงมาทางบางปะอิน ก่อนถึงสะพานข้ามคลองพระพิมลราชา ให้กลับรถใต้สะพานแล้วเลี้ยวเข้าซอยวัดพระแม่สกลสงเคราห์ จะมีป้ายบอกทางมาวัดฯ
รถโดยสารประจำทาง 127 บางบัวทอง สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า 134,ปอ.134 บางบัวทอง หมอชิต2 (ลงที่สี่แยกบางพลูแล้วต่อรถ 1024 หรือ 1003) ปอ.177 วงกลมบางบัวทอง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 337 นนทบุรี ปทุมธานี 364 บางบัวทอง นพวงศ์ 388,ปอ.388 ปากเกร็ด ศาลายา (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ ปอ.177 หรือ 127) ปอ.516 บางบัวทอง เทเวศร์ (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ ปอ.177 หรือ 127) ปอ.528 ไทรน้อย แยกพระราม 9 (ลงที่สี่แยกบางพลูแล้วต่อรถ 1024 หรือ 1003) 680,ปอ.680 รังสิต บางใหญ่ (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ ปอ.177 หรือ 127) 1003 บางบัวทอง ท่าน้ำนนทบุรี 1024,1024B บางบัวทอง สะพานพระราม 5 รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง พระปิ่นเกล้า รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง พงษ์เพชร รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง งามวงศ์วาน รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง สีลม รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง จตุจักร รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง จตุจักร รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รถตู้ปรับอากาศ บางใหญ่ซิตี้ บางแค (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ ปอ.177 หรือ 127) 18,69,ปอ.69,203,ปอ.203,รถตู้ปรับอากาศที่มาถึงท่าอิฐ ลงที่สี่แยกท่าอิฐ แล้วต่อรถ ปอ.177 หรือ 1024 รถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่สถานีปลายทางหมอชิต แล้วต่อรถ 134,ปอ.134,ปอ.177
- เปิด 08.00 น. ปิด 18.00 น.
- คนส่วนใหญ่มา ทำบุญ เสริมดวง และแก้ปีชง
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 26 รายการ)รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
1. คนเกิดปีจอ(สุนัข) ชง(ปะทะ) โดยตรงกับเทพเจ้า “ไท้ส่วยเอี๊ย” และเป็นอริกับปีมะโรงโดยตรง
2. คนเกิดปีมะโรง(มังกร) ทับไท้ส่วย
3. คนเกิดปีฉลู(วัว) ปีร่วมชงไท้ส่วย และยัง “ผั่ว(แตกแยก)” กับปีมะโรงด้วย
4. คนเกิดปีมะแม(หนู) ปีร่วมชงไท้ส่วย
5. คนเกิดปีเถาะ “ไห่(ให้ร้าย)” กับปีมะโรง
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ ปีชง
ให้ไปทำกับ เทพเจ้า ไท้ส่วยเอี๊ยที่อยู่ใกล้ๆ กันกับ ท้าวจตุโลกบาล
วิธีสะเดาะเคราะห์
1. ให้ เขียนชื่อ-นมสกุล อายุ วัน เดือน ปีเกิด และเวลาตกฟาก ลงในใบเทียบฝากดวงสีแดง (หากไม่รู้ตรงไหน ให้เขียว่า "ดี" แทน)
2. นำชุดไหว้สะเดาะเคราะห์ พร้อมกับ หยิบธูป 3 ดอก (ตรงทางขึ้นบันได) ไปจุดไหว้ กับองค์เทพเจ้า ไท้ส่วยเอี๊ยที่วิหาร (อย่าไหว้ผิดองค์น่ะครับ)
3. อธิษฐานของบารมีองค์เทพเจ้าไท้ส่วยเอ๊ย เพื่อให้ท่านช่วยคุ้มครองดวงชะตาให้แคล้วคลาดปลอดภัยตลอดทั้งปี
4. นำชุดไหว้สะเดาะเคราะห์ปัดออกจากตัว 13 ครั้ง กรณีที่ทำแทนคนอื่นไม่ต้องปัดตัว ให้อธิษฐานแทน
5. นำชุดไหว้วางไว้ที่หน้าองค์เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย เพื่อฝากให้คุ้มครองดวงชะตาตลอดทั้งปี
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
สวดเสริมดวง (สิริมงคล)
ให้ไปอธิษฐานต่าองค์เทพเจ้าจี่มุ้ยแซกุง ชั้น 2 นี้ครับ
อธิษฐานเสร็จแล้วให้นำใบสวดเสริมสิริมงคลใส่ไว้ในกล่องด้านหน้าองค์เทพเจ้าฯ
ทางวัดจะนำไปสวดพระพุทธมนต์ให้ตอลดทั้งปี เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมให้เกิดโภคทรัพย์ มหาโชค มหาลาภ ตลอดหนึ่งปีเต็ม
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
วันคล้ายวันพุทธสมภพ ของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาพุทธเจ้า คือ วันที่ 30 เดือน 9 จีน (แต่หากปีใดมีเพียง 29 วันก็ให้ถือเอาวันที่ 29 แทน)
พระนามของพระองค์ หมายถึง พระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค ผู้มีรัศมีงดงามสีน้ำเงินดังไพฑูรย์ พระนามอื่นๆ ของท่านคือ พระไภษัชยคุรุตถาคต พระมหาแพทย์ราชาพุทธเจ้า พระมหาไภษัชยราชพุทธเจ้า ทรงเป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนและชาวทิเบต
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
พระอมิตาภพุทธะ เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ ประทับอยู่ทางตะวันตกของพุทธมณฑล พระกายสีแดงก่ำ เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลปัทมะ หมายถึงปัญญาที่ทำให้มนุษย์รู้จักผิดชอบชั่วดี และเลือกปฏิบัติในทางที่ถูก สัญญลักษณ์คือดอกบัว พระพุทธเจ้าในตระกูลนี้ทั่วไปใช้บัวแดง พระโพธิสัตว์ปางดุใช้บัวขาว ภาพวาดของพระองค์มักวาดให้พระหัตถ์ยาวหมายถึงความสามารถที่จะเอื้อมพาสรรพสัตว์เข้าสู่แดนสุขาวดี มีพระชิวหายาวตระหวัดได้รอบโลกหมายถึงความสามารถในการแสดงธรรมได้ทั่วโลก ทรงนกยูงเป็นพาหนะ
ท่านเป็นพระพุทธเจ้าในสุขาวดีพุทธภูมิห่างจากโลกมนุษย์ ทางทิศตะวันตกสิบล้านล้านกิโลเมตร ใช้เวลาสร้าง 5 กัป จึงสำเร็จเป็นอาณาจักรหนึ่ง ชื่อ แดนสุขาวดี (เก็กลกซือไก) จุดประสงค์ในการสร้าง เพื่อเป็นที่อยู่ของสัตว์โลกที่สำเร็จธรรม ขอเพียงมีปณิธานแน่วแน่จริงใจและสวดคำว่า อามีทอฝอ (แต้จิ๋ว: อามิทอฮุก) อยู่เสมอ ยามใกล้จะสิ้นใจพระอดีตพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ จะเสด็จมารับไปยังแดนสุขาวดี
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามีท้าวมหาราชทั้ง ๔ เป็นผู้ปกครองดูแล คอยแบ่งกันครอบครองดังนี้
ด้านทิศตะวันออก เป็นที่อยู่ของ ท้าวธตรฐ มีพวกคนธรรพ์ เป็นบริวาร คนธรรพ์ นี้เป็นเทวดาพวกหนึ่งซึ่งที่มีความถนัดในการดนตรีศิลปะระบำรำฟ้อนและชำนาญในการขับกล่อมเพลงยิ่งนัก เมื่อใดที่เทวดาทั้งหลายชุมนุมกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน เมื่อนั้นพวกคนธรรพ์ ก็จะไปทำหน้าที่ขับกล่อมเพลงและรำบำรำฟ้อนเพื่อความสำราญของเหล่าเทวดา
ด้านทิศใต้ เป็นที่อยู่ของท้าววิรูปักษ์ มีพวกนาคเป็นบริวาร นาคนี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีฤทธิ์เดชมาก เพราะเพียงแค่พิษของนาคถูกต้องบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็สามารถตัดเอาผิวหนังของบุคคลนั้นและทำให้ถึงแก่ความตายได้ในพริบตา พวกนาครู้จักเนรมิตตนเป็น มนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นเทวดา เพื่อท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ตามอัธยาศัยอย่างสุขสำราญ
หากบุคคลใดได้ยินได้ฟังมาว่าพวกนาคมีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก ทำให้ชอบใจ แล้วทำคุณงามความดีด้วยกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งปรารถนาไปเกิดเป็นนาค บุคคลนั้นเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปเกิดเป็นนาคในชาติต่อไปสมความปรารถนา
ด้านทิศเหนือ เป็นที่อยู่ของท้าวเวสวัณหรือ ท้าวเวสสุวัณ มีพวกยักษ์ เป็นบริวาร ยักษ์ นี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีสันดานแตกต่างกัน บางตนก็มีสันดานดีประกอบด้วยศีลธรรม บางตนก็มีสันดานร้ายมีจิตใจเต็มไปด้วยโทสะโมหะ เป็นอันธพาลที่มีใจกล้าหาญดุดัน
ท้าวเวสวัณมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ท้าวกุเวร เพราะในสมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งนามว่า กุเวร เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพด้วยการทำไร่อ้อย นำต้นอ้อยตัดใส่ลงไปในหีบยนต์แล้วบีบน้ำอ้อยขายเลี้ยงชีวิตตนและบุตรภรรยา ต่อมากิจการเจริญขึ้นจนเป็นเจ้าของหีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อยถึง ๗ เครื่อง จึงสร้างที่พักสำหรับคนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อยจากหีบยนต์เครื่องหนึ่งซึ่งมีประมาณน้ำอ้อยมากกว่าหีบยนต์เครื่องอื่นๆ ให้เป็นทานแก่คนเดินผ่านไปมาจนตลอดอายุขัย
ด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า"กุเวรเทพบุตร"ต่อมากุเวรเทพบุตรได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแลพระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า "ท้าวเวสวัณ"
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
ไท่ซิงเอี๊ยะ องค์บู๊ มักจะเป็นรูปชายวัยกลางคน ใส่ชุดนักรบจีนโบราญ ประกอบด้วยชุดเกราะ หมวกขุนพล มือซ้ายถือกระบอง มือขวาถือเงินหยวน (หยวนเป่า) ใบหน้าดุ มีพาหนะเป็นเสือโคร่งลายพาดกลอนตัวใหญ่ ไท่ซิงเอี๊ยะองค์บู๊ นี้ชาวจีนที่บูชาเชื่อกันว่า มีพลานุภาพให้คุณแก่ผู้บูชาในเรื่องของหนี้สิน ช่วยให้ผู้บูชาเก็บหนี้ได้ง่ายขึ้น ลูกหนี้ไม่คิดเบี้ยวให้เจ้าหนี้ต้องลำบากใจ นอกจากนี้ยังมีอนุภาพช่วย ดูแล และควบคุมบริวาร ตลอดจนลูกจ้างให้อยู่ในระเบียบวินัย มีความขยันในการทำงาน ดังนั้น ตามโรงงาน หรือบริษัทใหญ่ๆ จึงนิยมบูชา ไท่ซิงเอี๊ยะองค์บู๊ ด้วยความเชื่อที่ว่า จะช่วยดูแลคนทำงาน ตลอดจนเป็นหูเป็นตาให้กับจ้าของกิจการ นอกจานี้บรรดาข้าราชการ ทหาร หรือตำรวจ (ของจีน) ล้วนนิยมบูชาเซ่นไหว้ ไท่ซิงเอี๊ยะองค์บู๊ เพราะช่วยดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีจำนวนมากนั่นเอง
ไท่ซิงเอี๊ยะ องค์บุ๋น มักจะเป็นรูปของชายในชุดขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของจีนโบราญ สวมหมวกมีปีกออกไป 2 ข้างคล้ายๆ กับหมวกของเทพ ลก (หมายถึง ฮก ลก ซิ่ว) ชุดขุนนางจีนชั้นผู้ใหญ่ครบเครื่องทั้งเสื้อนอกใน มือทั้งสองข้างจะถือแผ่นผ้าจารึกอักษร ที่คลี่ออก เป็นอักษรมงคล หรือคำอวยพรที่เป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชา ชาวจีนเชื่อว่า ไท่ซิงเอี๊ยะสามารถดลบันดาล หรือช่วยเหลือให้ผู้ที่บูชามีโชคมีลาภ ตลอดจนมีความมั่งคั่งร่ำรวย โชคลาภที่ได้นี้เนรายได้พิเศษ ไม่ใช่รายได้ประจำ (เงินเดือนหรือเงินค้าขายตามปกติ) ไท่ซิงเอี๊ยะองค์บุ๋น นี้มีอานุภาพหรือให้คุณทางด้านเงินทอง หรือทรัพย์สิน ตลอดจนโชคลาภต่างๆ ทำให้ผู้บูชาประสบความสำเร็จ ลูกค้าเชื่อถือ
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
พระสังกัจจายน์ ไทย กับ พระสังกัจจายน์จีน เป็นคนละองค์กันครับ
พระสังกัจจายน์ ในวัดไทย ที่พระเศียรท่านจะมีไรผม เป็นตุ่มๆ ในขณะที่พระสังกัจจายน์จีนจะเป็นเศียรโล้นๆ ไม่มีไรผม
พระสังกัจจายน์จีน มือหนึ่งจะถือ สร้อยประคำ แต่พระสังกัจจายน์จะไม่มีสร้อยประคำ
พระสังกัจจายน์จีน จะมีพระพักตร์ยิ้มแย้มแจ่มใส มีหน้าตาค่อนไปทางจีน และไม่ใช่พระอรหันต์ของพระพุทธเจ้า แต่เป็นรูปจำลองอีกแบบหนึ่งของพระโพธิสัตว์ ศรีอาริยเมตไตรย ในคติพุทธศาสนนิกายมหายานแบบจีน เป็นที่นิยมบูชากันอย่างกว้าขวาง เพราะเชื่อกันว่า ท่านบันดาลโชคลาภโภคทรัพย์ และความเป็นสิริมงคล ให้แก่ผู้บูชา
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55
รีวิวเมื่อ 5 มี.ค. 55