“ซากของไดโนเสาร์ที่มีอายุมากกว่า 100 ล้านปีที่ขุดพบด้วยความบังเอิญของชาวบ้าน (อาคารที่ค้นพบกระดู ข้างวัดสักกะวัน (หลวงปู่ไดโนเสาร์)”
พิพิธภัณฑ์สิรินธร บรรยากาศจำลองและหุ่นไดโนเสาร์นานาชนิดที่เราเพิ่งผ่านตาจากในตู้กระจก อาจไม่น่าสนใจเท่าโครงกระดูกไดโนเสาร์กินเนื้อกอร์โกซอรัส ที่ยืนผงาดในบริเวณใกล้เคียง และหากเราเงยหน้าขึ้น ย่อมสะดุดตากับโครงกระดูกของสัตว์ขนาดใหญ่ที่ถูกแขวนกับเพดาน ลอยอยู่กลางอากาศ โครงร่างของมันค่อนข้างป้อม ส่วนกระดูกที่งอกจากข้างลำตัวมีลักษณะแผ่แบนคล้ายครีบ ขณะกระดูกส่วนลำคอต่อกันยาวเหยียดไปถึงกะโหลกขนาดเล็ก มองดูคล้ายงู
ไดโนเสาร์ไทย มหายุคมีโซโซอิก แผ่นดินปัจจุบันเป็นประเทศไทย เป็นแหล่งอาศัยของไดโนเสาร์นานาชนิน นับตั้งแต่พวกกินเนื้อขนาดใหญ่หรือเทอโรพอดที่เป็นญาติสนิทของ ไทรัสโนซอรัส เร็กซ์ พวกกินพืชคอยาว หรือซอโรพอด ซึ่งหนักกว่าช้างหลายตัวรวมกัน ไปจนถึงไดโนเสาร์ปากนกแก้วตัวจิ๋ว การศึกษาอย่างต่อเนื่องทำให้เราเข้าใจความเกี่ยวข้องระหว่างไดโนเสาร์กลุ่มต่างๆ ทั้งพวกสะโพกแบบนกและสะโพกแบบสัตว์เลื้อยคลาน และตระหนักว่าไดโดนเสาร์ไทยมีคุณูปการต่อความเข้าเรื่องวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ในระดับโลกมากเพียงใด
เวลาเปิด - ปิด: เปิดตลอดทุกวัน 09.30 น. - 16.30 น.
ปิดทำการ: ปิดทำการทุกวันจันทร์