“พระมุเตาหรือพระเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากเมืองมอญ ”
วัดชมภูเวก อยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บ้านบางกะสอ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๐
ครั้งชาวมอญ อพยพหนีพม่ามาอยู่ในบริเวณนี้ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้พบซากโบราณสถานที่มีมาอยู่ก่อน จึงได้ร่วมกันสร้าง พระมุเตา คือพระเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากเมืองมอญ เป็นที่สักการบูชา ต่อมาจึงได้สร้างวัดชื่อ วัดชมภูเวก ซึ่งมีความหมายว่าขอสรรเสริญเนินสูงที่มีความวิเวก
ต่อมาได้กร่อนเป็นวัดชมภูเวก พระมุเตา (เจดีย์) ตั้งอยู่ตรงประตูทางเข้าวัดด้านหน้า รูปทรงของเจดีย์เป็นแบบเจดีย์ที่เมืองหงสาวดี สร้างขึ้นก่อนสร้างวัดบนเนินอิฐเก่า สันนิษฐานว่า อาจมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ด้วย พระอุโบสถหลังเก่า ตั้งอยู่ด้านหลังพระมุเตา มีขนาดสามห้องไม่ยกพื้น รูปทรงแบบมหาอุด ใช้ผนังรับน้ำหนัก ปลายผนังสอบเข้าเล็กน้อยไม่มีเสา มีแต่เสารับชายคาพาไล ด้านหน้ามีพาไล หน้าบันปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษาดอกพุดตาน ประดับกลางดอกด้วยเครื่องถ้วยลายคราม และเบญจรงค์ มีประตูเข้าด้านหน้าเพียงประตูเดียวอยู่ตรงกลาง มีหน้าต่างด้านละสามบาน
ซุ้มประตูหน้าต่างปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษา ผนังด้านหลังทึบ ฝาผนังด้านในทั้งสี่ด้าน มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสกุลนนทบุรี เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว ตามแบบอยุธยาตอนกลาง ผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพมารผจญ มีรูปพระแม่ธรณีประทับนั่งบีบมวยผมอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม ลวดลายอ่อนช้อยเหมือนลอยตัว เป็นที่ยกย่องกันว่าเป็นภาพแม่พระธรณีที่งามที่สุดในประเทศไทย ผนังด้านหลังเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าสองพระองค์ ประทับนั่งสมาธิ ผนังด้านข้างทั้งสองด้าน ตอนบนเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าประทับบนแท่นบัลลังก์ มีสาวกเฝ้าอยู่สองข้าง ผนังระหว่างช่องประตูกับหน้าต่างเป็นภาพทศชาติ พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น พระวิหาร ตั้งอยู่หลังพระอุโบสถ ขนาดสามห้อง ฝาผนังด้านในมีภาพจิตรกรรม เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า และภาพพุทธประวัติ เดิมในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง รูปปูนปั้นหลวงพ่อฟ้าผ่า เป็นรูปปั้นพระสงฆ์ชาวมอญ มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก เคร่งครัดในด้านวิปัสสนาเป็นพระเถรผู้ใหญ่ที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้ความนับถือมาก และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของมหาชนทั่วไป เมื่อท่านมรณะภาพขณะที่ไฟพระราชทานมาถึง ฟ้าได้ผ่าลงที่ปราสาทตั้งศพ ไฟลุกไหม้สรีรศพของท่านในเวลาเดียวกัน ผู้คนจึงขนานนามท่าน
เที่ยวได้ตลอดทั้งปี