“วีรสตรี นางสาวบุญเหลือ ครั้งศึกเจ้าอนุวงศ์ จากเวียงจันทร์”

ประวัติ

เมื่อวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กองทัพหน้าในบังคับบัญชาของเจ้าราชบุตรยกมาถึงเมืองนครราชสีมา ครั้นถึงวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ซึ่งครองเวียงจันทน์พร้อมกองทัพใหญ่ได้มาถึงเมืองนครราชสีมา กองทัพหน้าเดินทางไปทางทิศตะวันตกตรงไปยังเมืองสระบุรี(ปากเพรียว) ส่วนเจ้าอนุวงศ์ อยู่ทางนี้สั่งให้กองทัพยึดเมืองนครราชสีมาซึ่งขณะนั้นเป็นหัวเมืองหน้าด่าน และเป็นช่วงเวลาที่เจ้าเมืองนครราชสีมาไปราชการที่เมืองขุขันธ์ เจ้าอนุวงศ์จึงฉวยโอกาสกวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาไปเป็นเชลยศึก โดยมีเพี้ยรามพิชัยเป็นหัวหน้าควบคุม ออกเดินทางสู่เมืองเวียงจันทน์โดยผ่านเมืองพิมาย ระหว่างเดินทางแผนการกอบกู้อิสรภาพของชาวนครราชสีมาได้ถูกกำหนดขึ้น โดยคุณหญิงโมซึ่งเป็นภริยาของพระยาสุรเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย (ปลัดทองคำ) ปลัดเมืองนครราชสีมาขณะนั้น ซึ่งมีนางสาวบุญเหลือบุตรีหลวงเจริญกรมการเมืองนครราชสีมา ได้มีส่วนร่วมให้ข้อปรึกษาอย่างใกล้ชิด

คุณหญิงโมได้มอบหมายให้นางสาวบุญเหลือซึ่งเสมือนเป็นหลานของท่านเป็นผู้รับแผนการไปปฏิบัติ ด้วยความสำนึกที่จงรักภักดีต่อประเทศชาติและพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี นางสาวบุญเหลือจึงรับดำเนินการตามแผนการของคุณหญิงโม

ดังนั้นเมื่อเดินทางมาถึงทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองพิมาย แผนการที่ถูกกำหนดขึ้นก็ได้นำออกมาปฏิบัติ โดยเหล่าทหารเวียงจันทน์ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากเชลยศึกต่างก็มึนเมาตกอยู่ในความประมาทขาดความระมัดระวัง

ครั้นถึงเวลาสองยามไปแล้วของวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 ตามแผนการที่กำหนดไว้ชาวนครราชสีมาก็แยกย้ายระดมยื้อแย่งอาวุธจากเหล่าทหารลาว และได้โห่ร้องขึ้นทำให้กองทัพเวียงจันทน์เกิดโกลาหล ส่วนนางสาวบุญเหลือขณะนั้นอยู่ใกล้ที่พักของเพี้ยรามพิชัย เมื่อได้ยินเสียงโห่ร้องก็ทราบทันทีว่าแผนการดังกล่าวได้เริ่มขึ้นแล้ว นางสาวบุญเหลือจึงได้โผตัวเข้าขว้าดาบของเพี้ยรามพิชัย โดยหมายล้างชีวิตให้ได้แต่ไม่สำเร็จ เพี้ยรามพิชัยว่องไวกว่าจึงฉวยดาบคืนได้ไปเสียก่อน นางสาวบุญเหลือก็ผละตัวถอยห่างออกมาทันที และวิ่งออกไปอย่างรวดเร็ว เพี้ยรามพิชัยวิ่งตามไป นางสาวบุญเหลือคิดขึ้นได้ว่ามีเกวียนบรรทุกดินดำจอดพัก และอยู่ไม่ไกลถ้าทำลายได้ก็จะได้ผลตามคำสั่งคุณหญิงโม จึงวิ่งตรงไปยังกองไฟคว้าได้ฟืนจากกองไฟที่มีไฟติดอยู่วิ่งตรงเข้าหากองเกวียนบรรทุกกระสุนดินดำ เพี้ยรามพิชัยซึ่งในมือถือดาบจวนเจียนจะถึงนางสาวบุญเหลือ นางจึงตัดสินใจเอาดุ้นฟืนจุดเข้าที่ถุงดินปืนทำให้เกิดระเบิดขึ้นพร้อมกันในระยะเวลาอันสั้นทำให้นางสาวบุญเหลือ เพี้ยรามพิชัย และผู้อื่นๆตลอดทั้งพาหนะที่อยู่บริเวณนั้นแหลกสลายกันหมดสิ้น

บรรดาทหารลาวเวียงจันทน์ที่ถูกฆ่าตาย ชาวเมืองต่างช่วยกันลากลงไปทิ้งหนองน้ำ บริเวณหนองน้ำแห่งนี้ จึงเรียกว่า “หนองหัวลาว” ส่วนทหารลาวที่หนีตายได้รีบนำความไปแจ้งให้เจ้าอนุวงศ์ทราบ ประกอบกับกองทัพกรุงเทพฯยกมาสนับสนุน เจ้าอนุวงศ์จึงรีบถอยทัพออกจากเมืองนครราชสีมาวีรกรรมอันห้าวหาญเด็ดเดี่ยวของคุณหญิงโม ทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็น “ท้าวสุรนารี” ส่วนนางสาวบุญเหลือได้ประกอบวีรกรรมอย่างกล้าหาญที่สุดได้สละชีพเพื่อชาติอย่างเกียรติยิ่งที่ทุ่งสัมฤทธิ์ จึงเป็นบุคคลที่ควรค่าแก่การได้รับการยกย่องสรรเสริญให้เป็นวีรสตรีไทยอีกท่านหนึ่งได้ประกอบวีรกรรมอย่างกล้าหาญที่สุดได้สละชีพเพื่อชาติอย่างเกียรติยิ่งที่ทุ่งสัมฤทธิ์ จึงเป็นบุคคลที่ควรค่าแก่การได้รับการยกย่องสรรเสริญให้เป็นวีรสตรีไทยอีกท่านหนึ่ง


ในระหว่างวันที่ 3 – 5 มีนาคม ของทุกปี ชาวบ้านสัมฤทธิ์ทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้พร้อมใจกันจัดงานสดุดีวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ขึ้น เพื่อระลึกถึงวีรชน อันกล้าหาญของท่านท้าวสุรนารี นางสาวบุญเหลือและวีรชน มีการบวงสรวงดวงวิญญาณ ถวายบายศรี เครื่องสังเวย บำเพ็ญกุศล และมีมหรสพสมโภชตลอดงาน

อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์

แชร์

บ้านสัมฤทธิ์ หมู่ที่ 1 ต.สัมฤทธิ์ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา 30110 แผนที่

รีวิว 4 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,อนุสาวรีย์

เปิด

n/a

n/a

4398

แนะนำทริป

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 4 รายการ)

pem

รีวิวเมื่อ 7 ม.ค. 55

ด้านในเป็นรูปปั้นของย่าโมและย่าเหลือ
ด้านในเป็นรูปปั้นของย่าโมและย่าเหลือ

ถูกใจ แชร์

pem

รีวิวเมื่อ 7 ม.ค. 55

ศาลสถิตย์ดวงวิญญาณนางสาวบุญเหลือและวีรชนหลังใหม่
ศาลสถิตย์ดวงวิญญาณนางสาวบุญเหลือและวีรชนหลังใหม่

ถูกใจ แชร์

pem

รีวิวเมื่อ 7 ม.ค. 55

ศาลตา - ยาย (ศาลเจ้าทุ่ง)
ศาลตา - ยาย (ศาลเจ้าทุ่ง)

ถูกใจ แชร์

pem

รีวิวเมื่อ 7 ม.ค. 55

อนุสรณ์ย่าเหลือและเหล่าวีรชน
อนุสรณ์ย่าเหลือและเหล่าวีรชน

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท (รีวิว 3 รายการ)

ห่าง 4.13 กิโลเมตร