“พระปฐมเจดีย์ เป็นพระมหาเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย”

พระปฐมเจดีย์ เป็นพระมหาเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย การที่ได้ชื่อว่าพระปฐมเจดีย์นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นพระเจดีย์เก่ากว่าพระเจดีย์อื่น ๆ ในประเทศสยาม

 สันนิษฐานว่าสร้างสมัยทวาราวดี ตั้งอยู่ที่เมืองนครไชยศรีในสมัยก่อน ปัจจุบันอยู่ในอำเภอเมืองนครปฐม จากเอกสารเก่าที่บันทึกเรื่องนี้ไว้มีประวัติว่า พระปฐมเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๕๐๐ ก็มี พ.ศ. ๑๐๐๐ ก็มี พ.ศ. ๑๑๘๕ ก็มี พ.ศ. ๑๒๖๔ ก็มี พ.ศ. ๑๖๓๐ ก็มี ความสูง ๔๐ วา ๕ ศอก มีพระแท่นบรรทม ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทม

 บรรจุพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว องค์หนึ่ง บรรจุพระบรมธาตุ หนึ่งทะนาน มีปรากฎก่อนพบพระพุทธบาท พระพุทธฉาย กว่าพันปี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ในขณะที่ทรงผนวชอยู่และได้ไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ ได้ทรงแสดงสภาพพระปฐมเจดีย์ไว้ว่า เป็นเพระเจดีย์ใหญ่ยอดปรางค์ ตอนหนึ่ง ฐานล่างกลมเป็นรูประฆัง ตอนหนึ่ง น่าจะทำมาหลายคราว คนทั่วไปเรียกว่า พระปทม

 เนื่องด้วย เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมาบรรทมที่นั่น จากฝีมือทำอิฐและก่อ แสดงว่าเป็นของทำมาเก่าแก่หลายครั้ง ที่เนินใหญ่เป็นกองอิฐหักลงมา เมื่อขุดลงไปสักสองสามศอกพบอิฐยาวศอกหนึ่ง หน้าใหญ่สิบสองนิ้ว หน้าน้อยหกนิ้ว ก่อเป็นพื้น น่าจะเป็นองค์พระเจดีย์เดิมหักพังลงมา แล้วมีการก่อพระเจดีย์ออกบนเนินเรียงรายอยู่สี่วิหาร มีวิหารพระนาคปรก วิหารพระไสยาสน์ วิหารไว้พระพุทธรูปต่าง ๆ และวิหารพระป่าเลไลย์ วิหารหลวงพระอุโบสถอยู่บนพื้นแผ่นดิน ตั้งแต่หลังเกาะสูงประมาณมีถึงห้าวา หลังเกาะขึ้นไปเป็นองค์พระเจดีย์กลม ๑๔ วา ๒ ศอก ปรางค์สูง ๒๐ วา ยอดนพศูลสูง ๘ ศอก รวมความสูงตั้งแต่หลังเกาะถึงยอดนพศูลสูง ๘ ศอก รวมความสูง ตั้งแต่หลักเกาะถึงยอดนพศูล ๔๐ วา ๒ ศอก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เป็นแม่กองทำการปฏิสังขรณ์

 และเมื่อสมเด็จเจ้าพระยา ฯ ถึงแก่พิราลัย ก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยานิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นแม่กองดำเนินการต่อไป ได้จ้างพวกมอญทำอิฐ รวมทั้งทาสลูกหนี้ด้วย โดยคิดหักค่าตัวให้ จ้างจีนมาเผาปูน และ เป็นช่างก่อ เอาราษฎรจากเมืองนครไชยศรี เมืองสมุทรสาคร เมืองราชบุรีและเมืองพนัสนิคม โดยแบ่งคนออกเป็นสี่ผลัด เดือนละสองร้อยคน เมื่อก่อพระเจดีย์ได้สูง ๑๗ วา ๒ ศอก ต่อมาเกิดฝนตกหนักอิฐที่ก่อทรุดตัวลง เพราะฐานทักษิณไม่มี จึงต้องรื้อออกทำใหม่ โปรดเกล้า ฯ ให้ถมพื้นที่ลุ่มดอนให้เสมอกัน ก่อฐานใหญ่รอง ๕ เส้น ๑๖ วา ๓ ศอก องค์พระเจดีย์ถึงยอดนพศูล ตลอดยอดมงกุฏ สูง ๓ เส้น ๑ คืบ ๖ นิ้ว


เที่ยวได้ตลอดทั้งปี

พระปฐมเจดีย์

แชร์

ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 แผนที่

รีวิว 10 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,วัด,สถานที่,วัด

ปิด

จ.8.00 - 18.00
อ.8.00 - 18.00
พ.8.00 - 18.00
พฤ.8.00 - 18.00
ศ.8.00 - 18.00
ส.8.00 - 18.00
อา.8.00 - 18.00

034-270300

https://www.thai-tour.com/thai-tour/central/nakornprathom/data/place/pic_pra-prathomchedi.htm

10274

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 10 รายการ)

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 พ.ค. 55

ประวัติพระอุตตระเถระ
ในการทำสังคายนาครั้งที่ 3 พ.ศ. 235 พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงอุปถัมถ์ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน ที่วัดอโศการาม กรุงปาตลีบุตร ได้จัดส่งพระภิกษุปัญจวัคค์ 9 คณะๆ ละ 5 รูป เพื่อเป็นพระสมณทูต นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานยังเมืองต่างๆ

พระอุตตระเถระ เป็นหัวหน้าพระสมณทูตนำพระพุทธศาสนา มาประกาศในดินแดนสุวรรณภูมิ เดือน 12 พ.ศ. 235
ประวัติพระอุตตระเถระ
ในการทำสังคายนาครั้งที่ 3 พ.ศ. 235 พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงอุปถัมถ์ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน ที่วัดอโศการาม กรุงปาตลีบุตร ได้จัดส่งพระภิกษุปัญจวัคค์ 9 คณะๆ ละ 5 รูป เพื่อเป็นพระสมณทูต นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานยังเมืองต่างๆ

พระอุตตระเถระ เป็นหัวหน้าพระสมณทูตนำพระพุทธศาสนา มาประกาศในดินแดนสุวรรณภูมิ เดือน 12 พ.ศ. 235

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 พ.ค. 55

ปางประทานอภัย
ปางประทานอภัย

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 พ.ค. 55

พระร่วงโรจนฤทธิ์ ประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งได้พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทมาจากเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
http://gplace.com/พระร่วงโรจนฤทธิ์
พระร่วงโรจนฤทธิ์ ประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งได้พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทมาจากเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
http://gplace.com/พระร่วงโรจนฤทธิ์

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 พ.ค. 55

โบราณวัตถุบางชิ้นที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์
โบราณวัตถุบางชิ้นที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 พ.ค. 55

พิพิธภัณฑ์ (ทางเข้า)
พิพิธภัณฑ์ (ทางเข้า)

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 พ.ค. 55

พระศิลาขาว องค์ที่เห็นนี้อยู่ในโบสถ์ (องค์พระปฐมฯ)
พระศิลาขาว องค์ที่เห็นนี้อยู่ในโบสถ์ (องค์พระปฐมฯ)

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 พ.ค. 55

พระพุทธรูปศิลาขาวทั้ง 4 พระองค์ เป็นศิลปสมัยทวารวดี เป็นที่เคารพนับถือของชาวไทยตลอดเวลามานานนับพันปี จึงขอให้ประชาชนทุกคนจงร่วมใจกันปกป้องรักษาสมบัติล้ำค่านี้ไว้ ให้ยั่งยืนชั่วกาลนาน เป็นมิ่งขวัญของเราชาวไทยต่อไป อย่าให้ใครมาทำลายหรือลักลอบไปได้ เหมือนที่แล้ว ๆ มา

ปัจจุบันประดิษฐานในที่ต่างๆ ดังนี้
1. ในโบสถ์พระปฐมเจดีย์ 1 องค์
2. ที่ลานบันไดทางทิศใต้องค์พระปฐมเจดีย์ 1 องค์
3. ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ 1 องค์
4. ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อยุธยา 1 องค์

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 พ.ค. 55

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
อยู่ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ด้านทิศใต้เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น โบราณวัตถุที่รวบรวมได้ในระยะแรกได้ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่ระเบียงคตรอบองค์พระปฐมเจดีย์ กระทั่ง พ.ศ. 2454 จึงได้ย้ายไปไว้ในวิหารตรงข้ามพระอุโบสถ ซึ่งต่อมาเรียกว่า พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน ( ปัจจุบันยังคงเป็นพิพิธภัณฑสถานในความดูแลของวัดพระปฐมเจดีย์) พ.ศ. 2477 ได้ยกฐานะเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในความดูแลของกรมศิลปากร และเมื่อจำนวนโบราณวัตถุเพิ่มมากขึ้น อาคารหลังเดิมคับแคบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 กรมศิลปากรได้รับงบประมาณให้สร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานหลังปัจจุบันขึ้น และเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุจากหลังเดิมมาจัดแสดงไว้ที่นี่ โดยโบราณวัตถุส่วนใหญ่เป็นหลักฐานในวัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้


ส่วนที่ 1 แนะนำลักษณะทั่วไปของจังหวัดนครปฐม ประวัติความเป็นมาของดินแดนแห่งนี้ การตั้งถิ่นฐานของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ การติดต่อรับพุทธศาสนาและวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาผสมผสานกับความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาพปูนปั้นรูปชาวต่างประเทศ ศิลาจารึกที่พบบริเวณเมืองโบราณนครปฐม


ส่วนที่ 2 เสนอเรื่องราวด้านศาสนาและความเชื่อของชุมชนทวารวดีที่นครปฐมสะท้อนผ่านงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ โบราณวัตถุที่จัดแสดงในส่วนนี้ประกอบด้วย ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมและประติมากรรมประเภทต่างๆ เช่น พระพุทธรูป ภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติ ภาพปูนปั้นเรื่องชาดกประดับฐานเจดีย์และธรรมจักร


ส่วนที่ 3 เรื่องราวของนครปฐมหลังความรุ่งเรืองสมัยทวารวดี จนถึงสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าให้ปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์และเป็นงานสำคัญที่สืบเนื่องต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงที่นครปฐมได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมณฑลนครชัยศรี และในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ก่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น เมืองนครปฐมได้รับการพัฒนาเรื่อยมา

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 034-270300, 034-242500 โทรสาร 034-242500
พิพิธภัณฑ์เปิดให้บริการทุกวัน ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
อยู่ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ด้านทิศใต้เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น  โบราณวัตถุที่รวบรวมได้ในระยะแรกได้ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่ระเบียงคตรอบองค์พระปฐมเจดีย์ กระทั่ง พ.ศ. 2454  จึงได้ย้ายไปไว้ในวิหารตรงข้ามพระอุโบสถ ซึ่งต่อมาเรียกว่า พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน ( ปัจจุบันยังคงเป็นพิพิธภัณฑสถานในความดูแลของวัดพระปฐมเจดีย์) พ.ศ. 2477 ได้ยกฐานะเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในความดูแลของกรมศิลปากร  และเมื่อจำนวนโบราณวัตถุเพิ่มมากขึ้น อาคารหลังเดิมคับแคบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 กรมศิลปากรได้รับงบประมาณให้สร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานหลังปัจจุบันขึ้น และเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุจากหลังเดิมมาจัดแสดงไว้ที่นี่  โดยโบราณวัตถุส่วนใหญ่เป็นหลักฐานในวัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16)  การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้        


ส่วนที่ 1 แนะนำลักษณะทั่วไปของจังหวัดนครปฐม ประวัติความเป็นมาของดินแดนแห่งนี้  การตั้งถิ่นฐานของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์  การติดต่อรับพุทธศาสนาและวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาผสมผสานกับความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาพปูนปั้นรูปชาวต่างประเทศ  ศิลาจารึกที่พบบริเวณเมืองโบราณนครปฐม  


ส่วนที่ 2 เสนอเรื่องราวด้านศาสนาและความเชื่อของชุมชนทวารวดีที่นครปฐมสะท้อนผ่านงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ  โบราณวัตถุที่จัดแสดงในส่วนนี้ประกอบด้วย ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมและประติมากรรมประเภทต่างๆ เช่น พระพุทธรูป ภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติ ภาพปูนปั้นเรื่องชาดกประดับฐานเจดีย์และธรรมจักร


ส่วนที่ 3  เรื่องราวของนครปฐมหลังความรุ่งเรืองสมัยทวารวดี จนถึงสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าให้ปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์และเป็นงานสำคัญที่สืบเนื่องต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงที่นครปฐมได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมณฑลนครชัยศรี  และในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ก่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น เมืองนครปฐมได้รับการพัฒนาเรื่อยมา

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 
โทร. 034-270300, 034-242500 โทรสาร 034-242500 
พิพิธภัณฑ์เปิดให้บริการทุกวัน ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 พ.ค. 55

ชื่ออย่างเป็นทางการใต้ฐานองค์พระ
ทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อศิลาขาว
ชื่ออย่างเป็นทางการใต้ฐานองค์พระ
ทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อศิลาขาว

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 พ.ค. 55

เมื่อปลายปี พ.ศ. 2481 และต้นปี 2482 กรมศิลปากรร่วมกับสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศใต้ ดำเนินการขุดแต่งวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม โดยดูปองค์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส พบว่ามีโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมย่อมก่ออิฐกว้างยาวด้านละ 70 เมตร มีสถูปใหญ่ ทำเป็นมุขยื่นออกไป และทำที่สำหรับตั้งพระพุทธรูปแห่งหนึ่ง กับทิศเหนืออีกแห่งหนึ่งในระหว่างมุขทั้ง 4 ทิศนี้ทำเป็นคต มีหลังคาบรรจบกันโดยรอบอิฐที่ก่อเป็นอิฐไม่มีสอ เหมือนกับอิฐในสมัยทวารวดีโดยมาก ในสมัยรัชกาลที่ 4 เจ้าพระยาทิพากรวงค์ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์องค์หนึ่ง องค์นี้สมบูรณ์ที่สุด และด้วยความสามารถของกรมศิลปากรได้นำชิ้นส่วนต่าง ๆ อีก 3 องค์ เช่น พระเพลา พระกร พระหัตถ์ บังรอง พระบาท ข้อพระบาท พระชานุ พระอังสา พระพาหา มาต่อกับองค์พระ และพระเศียร ซึ่งรวมทั้งพบชิ้นส่วนต่าง ๆ จากวัดพระยากง วัดขุนพรหม ซึ่งต่อมาได้ถวายพระนามจารึกบนแผ่นหินอ่อนใต้บัวรองบาทว่า
"พระพุทธนรเชษฐเศวตอัศมมัยมุนี ศรีทาราวดีปูชนียบพิตร"


เมื่อปลายปี พ.ศ. 2481 และต้นปี 2482 กรมศิลปากรร่วมกับสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศใต้ ดำเนินการขุดแต่งวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม โดยดูปองค์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส พบว่ามีโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมย่อมก่ออิฐกว้างยาวด้านละ 70 เมตร มีสถูปใหญ่ ทำเป็นมุขยื่นออกไป และทำที่สำหรับตั้งพระพุทธรูปแห่งหนึ่ง กับทิศเหนืออีกแห่งหนึ่งในระหว่างมุขทั้ง 4 ทิศนี้ทำเป็นคต มีหลังคาบรรจบกันโดยรอบอิฐที่ก่อเป็นอิฐไม่มีสอ เหมือนกับอิฐในสมัยทวารวดีโดยมาก ในสมัยรัชกาลที่ 4 เจ้าพระยาทิพากรวงค์ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์องค์หนึ่ง องค์นี้สมบูรณ์ที่สุด และด้วยความสามารถของกรมศิลปากรได้นำชิ้นส่วนต่าง ๆ อีก 3 องค์ เช่น พระเพลา พระกร พระหัตถ์ บังรอง พระบาท ข้อพระบาท พระชานุ พระอังสา พระพาหา มาต่อกับองค์พระ และพระเศียร ซึ่งรวมทั้งพบชิ้นส่วนต่าง ๆ จากวัดพระยากง วัดขุนพรหม ซึ่งต่อมาได้ถวายพระนามจารึกบนแผ่นหินอ่อนใต้บัวรองบาทว่า

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระร่วงโรจนฤทธิ์ (รีวิว 6 รายการ)

ห่าง 0.08 กิโลเมตร

เนินวัดพระงาม เนินวัดพระงาม (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.71 กิโลเมตร

วัดพระเมรุ วัดพระเมรุ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.19 กิโลเมตร

พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.54 กิโลเมตร

อนุสาวรีย์ย่าเหล อนุสาวรีย์ย่าเหล (รีวิว 4 รายการ)

ห่าง 1.54 กิโลเมตร

พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.54 กิโลเมตร

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.58 กิโลเมตร

เทวาลัยคเณศร์ เทวาลัยคเณศร์ (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 1.60 กิโลเมตร

พระตำหนักทับขวัญ พระตำหนักทับขวัญ (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 1.67 กิโลเมตร

พระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งพิมานปฐม (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.68 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

ราชพฤกษ์ พาวิลเลี่ยน ราชพฤกษ์ พาวิลเลี่ยน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.22 กิโลเมตร

มายรูม นครปฐม มายรูม นครปฐม (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.76 กิโลเมตร

กมลธารา กมลธารา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.04 กิโลเมตร

เซน นครปฐม เซน นครปฐม (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.04 กิโลเมตร

ฮ็อป อินน์ นครปฐม ฮ็อป อินน์ นครปฐม (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.10 กิโลเมตร

โรงแรมเวล โรงแรมเวล (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.17 กิโลเมตร

เดอะทรัสต์ คอนโด เดอะทรัสต์ คอนโด (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.26 กิโลเมตร

บ้านพัก เรือนปฐม บ้านพัก เรือนปฐม (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.29 กิโลเมตร

โรงแรม รรินคำเพอร์เฟค โรงแรม รรินคำเพอร์เฟค (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.31 กิโลเมตร

ไมด้า ทวารวดี แกรนด์ ไมด้า ทวารวดี แกรนด์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.38 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

ไอศรีมลอยฟ้า นครปฐม ไอศรีมลอยฟ้า นครปฐม (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.19 กิโลเมตร

ตั้งฮะเส็ง ร้านเก่า ตั้งฮะเส็ง ร้านเก่า (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.36 กิโลเมตร

ซินฮะเส็ง ข้าวหมูแดง ซินฮะเส็ง ข้าวหมูแดง (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.36 กิโลเมตร

บ้านขนมจีน by คุณหญิงแม่ บ้านขนมจีน by คุณหญิงแม่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.13 กิโลเมตร

ลุงลอยป่าลั่น ลุงลอยป่าลั่น (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.20 กิโลเมตร

ร้านโจ๊ก หน้าโรงเรียนสว่าง ร้านโจ๊ก หน้าโรงเรียนสว่าง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.20 กิโลเมตร

ครัวลุงลอยป่าลั่น นครปฐม ครัวลุงลอยป่าลั่น นครปฐม (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.23 กิโลเมตร

ร้านสุกี้แพนด้า  ต้นสนเจ้าเก่า ร้านสุกี้แพนด้า ต้นสนเจ้าเก่า (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.25 กิโลเมตร

ครัวโกเท้ ครัวโกเท้ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.31 กิโลเมตร

ร้านอาหารฮิ้น ร้านอาหารฮิ้น (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.66 กิโลเมตร