“เป็นสวนสาธารณะอันร่มรื่น เวลาเย็นๆ มีประชาชนไปพักผ่อนเป็นจำนวนมาก”

อนุสาวรีย์พระรัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองตรัง ทางไปจังหวัดพัทลุง ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 1 กม. ผู้ที่เดินทางไปถึงจังหวัดตรังทุกคนมักแวะไปทำความเคารพอนุสาวรีย์ของท่าน

  • เดิมเป็นที่ตั้งพระตำหนักผ่อนกาย ซึ่งจัดรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ปัจจุบันได้ตกแต่งเป็นสวนสาธารณะอันร่มรื่น เวลาเย็นๆ มีประชาชนไปพักผ่อนเป็นจำนวนมาก

พระยารัษฎาฯ ได้สร้างและทำนุบำรุงความเจริญแก่จังหวัดตรังไว้มาก เช่น ด้านคมนาคมในจังหวัดตรัง ด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ ด้านการศึกษา การปกครอง นโยบายรักษาความสงบและการสาธารณสุข ฯลฯ และเป็นผู้นำต้นยางต้นแรกที่ปลูกในจังหวัดตรัง จนแพร่หลายไปทั่วภาคใต้


เวลาเปิด - ปิด: เปิดตลอดทุกวัน 24 ชม. เที่ยวได้ทุกวัน

อนุสาวรีย์พระรัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

แชร์

วงเวียนพระยา ถนน รัษฎา ตำบล ทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง ตรัง 92000 แผนที่

รีวิว 8 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,อนุสาวรีย์

เปิด

n/a

https://www.thai-tour.com/thai-tour/south/trang/data/place/pic-anusaovare.html

6072

แนะนำทริป

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 8 รายการ)

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 15 มิ.ย. 55

ปัจจุบัน อนุสาวรีย์ของพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ตั้งอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองตรัง ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร และอีกแห่งอยู่บน เขารัง จังหวัด ภูเก็ต

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 15 มิ.ย. 55

เมื่อสิ้นชีวิต หลวงบริรักษ์โลหวิสัย บุตรชายได้รับหนังสือแสดงความเสียใจจากบุคคลต่าง ๆ รวมถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีใจความว่า

'เรามีความเศร้าสลดอย่างยิ่งในอนิจกรรมของบิดาเจ้า ผู้ซึ่งเรายกย่องอย่างสูง ไม่เฉพาะที่เป็นข้าราชการเท่านั้น แต่ยังถือว่าเป็นเพื่อนผู้หนึ่ง ซึ่งเราเศร้าสลดที่ต้องสูญเสียไปเช่นนั้น จงรับความเศร้าสลดและเห็นใจอย่างแท้จริงจากเราด้วย'

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 15 มิ.ย. 55

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรังนาน 11 ปี ในปี พ.ศ. 2444 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต รับผิดชอบดูแลหัวเมืองตะวันตก ตั้งแต่ภูเก็ต ตรัง กระบี่ พังงา ตะกั่วป่า ระนอง และสตูล มีผลงานเป็นที่เลื่องลือไปถึงหัวเมืองมลายูและปีนัง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี แต่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ได้ปฏิเสธ จึงได้ทรงจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งพระยารัษฎา ฯ ก็ได้ปฏิเสธไปอีกอย่างนิ่มนวล โดยขอเป็นเพียงสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต เช่นเดิมต่อไป จากนั้นจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสายสะพายช้างเผือกชั้นที่ 1 และทรงถือว่าพระยารัษฎา ฯ เป็นพระสหาย สามารถห้อยกระบี่เข้าเฝ้าฯ โดยพระบรมราชานุญาตพิเศษ

พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ได้สิ้นชีวิตลงเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2456 ที่บ้านจักรพงษ์ ที่ปีนัง ด้วยสาเหตุเจ็บป่วยจากการถูกยิงโดยคนสนิท พร้อมกับหลานชาย (พระสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง)) ที่ท่าเทียบเรือกันตัง เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 รวมอายุได้ 56 ปี
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรังนาน 11 ปี ในปี พ.ศ. 2444 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต รับผิดชอบดูแลหัวเมืองตะวันตก ตั้งแต่ภูเก็ต ตรัง กระบี่ พังงา ตะกั่วป่า ระนอง และสตูล มีผลงานเป็นที่เลื่องลือไปถึงหัวเมืองมลายูและปีนัง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี แต่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ได้ปฏิเสธ จึงได้ทรงจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งพระยารัษฎา ฯ ก็ได้ปฏิเสธไปอีกอย่างนิ่มนวล โดยขอเป็นเพียงสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต เช่นเดิมต่อไป จากนั้นจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสายสะพายช้างเผือกชั้นที่ 1 และทรงถือว่าพระยารัษฎา ฯ เป็นพระสหาย สามารถห้อยกระบี่เข้าเฝ้าฯ โดยพระบรมราชานุญาตพิเศษ

พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ได้สิ้นชีวิตลงเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2456 ที่บ้านจักรพงษ์ ที่ปีนัง ด้วยสาเหตุเจ็บป่วยจากการถูกยิงโดยคนสนิท พร้อมกับหลานชาย (พระสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง)) ที่ท่าเทียบเรือกันตัง เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 รวมอายุได้ 56 ปี

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 15 มิ.ย. 55

ในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ได้จัดตั้งกองโปลิศภูธรขึ้นแล้วซื้อเรือกลไฟไว้เป็นพาหนะตรวจลาดตระเวณ บังคับให้ทุกบ้านเรือนต้องมีเกราะตีเตือนภัยไว้หน้าบ้าน หากบ้านใดได้ยินเสียงเกราะแล้วไม่ตีรับจะมีโทษ เป็นต้น

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มีวิธีการบริหารปกครองแบบไม่มีใครเหมือน โดยใช้หลักเมตตาเหมือนพ่อที่มีต่อลูก เช่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามนโยบายก็จะถูกลงโทษอย่างหนัก แต่การลงโทษนั้นให้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนผู้นั้น เช่น ให้ไปทำนา เป็นต้น ชาวบ้านถือมีดพร้าผ่านมาก็จะขอดู ถ้าพบว่าขึ้นสนิมก็จะดุกล่าวตักเตือน แม้แต่ข้าราชการก็อาจถูกตีศีรษะได้ต่อหน้าธารกำนัลถ้าทำผิด หรือแม้กระทั่งดูแลให้ชาวบ้านสวมเสื้อเวลาออกจากบ้าน
ในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ได้จัดตั้งกองโปลิศภูธรขึ้นแล้วซื้อเรือกลไฟไว้เป็นพาหนะตรวจลาดตระเวณ บังคับให้ทุกบ้านเรือนต้องมีเกราะตีเตือนภัยไว้หน้าบ้าน หากบ้านใดได้ยินเสียงเกราะแล้วไม่ตีรับจะมีโทษ เป็นต้น

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มีวิธีการบริหารปกครองแบบไม่มีใครเหมือน โดยใช้หลักเมตตาเหมือนพ่อที่มีต่อลูก เช่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามนโยบายก็จะถูกลงโทษอย่างหนัก แต่การลงโทษนั้นให้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนผู้นั้น เช่น ให้ไปทำนา เป็นต้น ชาวบ้านถือมีดพร้าผ่านมาก็จะขอดู ถ้าพบว่าขึ้นสนิมก็จะดุกล่าวตักเตือน แม้แต่ข้าราชการก็อาจถูกตีศีรษะได้ต่อหน้าธารกำนัลถ้าทำผิด หรือแม้กระทั่งดูแลให้ชาวบ้านสวมเสื้อเวลาออกจากบ้าน

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 15 มิ.ย. 55

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ เมื่อรับตำแหน่งเจ้าเมืองตรังได้พัฒนาปรับปรุงสภาพหลายอย่างในเมืองตรังให้เจริญรุ่งเรืองหลายอย่าง ด้วยกุศโลบาลส่วนตัวที่แยบยล เช่น การตัดถนนที่ไม่มีผู้ใดเหมือน รวมทั้งส่งเสริมชาวบ้านให้กระทำการเกษตร เช่น ให้เลี้ยงไก่โดยบอกว่า เจ้าเมืองต้องการไข่ไก่ ให้เอากาฝากออกจากต้นไม้ โดยบอกว่าเจ้าเมืองต้องการเอาไปทำยา ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟ และยางพารา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนำยางพารามาปลูกที่ภาคใต้ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเช่นในปัจจุบัน
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ เมื่อรับตำแหน่งเจ้าเมืองตรังได้พัฒนาปรับปรุงสภาพหลายอย่างในเมืองตรังให้เจริญรุ่งเรืองหลายอย่าง ด้วยกุศโลบาลส่วนตัวที่แยบยล เช่น การตัดถนนที่ไม่มีผู้ใดเหมือน รวมทั้งส่งเสริมชาวบ้านให้กระทำการเกษตร เช่น ให้เลี้ยงไก่โดยบอกว่า เจ้าเมืองต้องการไข่ไก่ ให้เอากาฝากออกจากต้นไม้ โดยบอกว่าเจ้าเมืองต้องการเอาไปทำยา ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟ และยางพารา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนำยางพารามาปลูกที่ภาคใต้ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเช่นในปัจจุบัน

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 15 มิ.ย. 55

ผู้เป็นบิดา (คอซู้เจียง) เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๐ ที่เมืองเจียงจิวหู ประเทศจีน ตรงข้ามกับเกาะ ไต้หวัน เมื่ออายุ ๒๕ ปี (พ.ศ.๒๓๖๕) ได้เดินทางออกจากแผ่นดินจีน หนีความยากแค้นกดขี่จาก รัฐบาลแมนจู มาเป็นกรรมกรอยู่ที่เกาะหมาก (ปีนัง) ทำเกษตรกรรมและค้าขายอยู่ราว ๖ ปี พอมีทุนแล้วได้เข้ามาราชอาณาจักสยามในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทำการค้าที่เมืองตะกั่วป่า โดยได้รับความช่วยเหลือจากท้าวเทพสุนทร ภริยาเจ้าเมือง ตะกั่วป่า ต่อมาย้ายไปตั้งหลักแหล่งที่พังงา ได้ต่อเรือกำปั่นใบวิ่งล่องค้าขายดีบุกและพืชผล เช่น รังนก พริกไทย จันทน์เทศ แลกเปลี่ยนกับเสื้อผ้า ปืน ฯลฯ
-----------------------------
http://gplace.com/สุสานเจ้าเมืองระนอง

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 15 มิ.ย. 55

พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี หรือ คอซิมบี้ ณ ระนอง เกิดเมื่อวันพุธ เดือน 5 ปีมะเส็ง พุทธศักราช 2400 ตรงกับเดือนเมษายน พ.ศ. 2400 ที่จังหวัดระนอง เป็นบุตรคนสุดท้องของ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซูเจียง ณ ระนอง) เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 3) และ นางกิม โดยชื่อ 'ซิมบี้' แปลว่า ผู้มีจิตใจดีงาม เมื่ออายุได้ 9 ขวบ ได้ติดตามบิดาเดินทางกลับไปประเทศจีนและอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และได้ดูแลกิจการแทนบิดา ทั้ง ๆ ที่มิได้เรียนหนังสือ มีความรู้หนังสือเพียงแค่เซ็นชื่อตนได้เท่านั้น แต่มีความสามารถพูดได้ถึง 9 ภาษา บิดาจึงหวังจะให้สืบทอดกิจการการค้าแทนตน มิได้ประสงค์จะให้รับราชการเลย
พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี หรือ คอซิมบี้ ณ ระนอง เกิดเมื่อวันพุธ เดือน 5 ปีมะเส็ง พุทธศักราช 2400 ตรงกับเดือนเมษายน พ.ศ. 2400 ที่จังหวัดระนอง เป็นบุตรคนสุดท้องของ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซูเจียง ณ ระนอง) เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 3) และ นางกิม โดยชื่อ 'ซิมบี้' แปลว่า ผู้มีจิตใจดีงาม เมื่ออายุได้ 9 ขวบ ได้ติดตามบิดาเดินทางกลับไปประเทศจีนและอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และได้ดูแลกิจการแทนบิดา ทั้ง ๆ ที่มิได้เรียนหนังสือ มีความรู้หนังสือเพียงแค่เซ็นชื่อตนได้เท่านั้น แต่มีความสามารถพูดได้ถึง 9 ภาษา บิดาจึงหวังจะให้สืบทอดกิจการการค้าแทนตน มิได้ประสงค์จะให้รับราชการเลย

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 15 มิ.ย. 55

พระรัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี
พระรัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

วัดกะพังสุรินทร์ วัดกะพังสุรินทร์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.77 กิโลเมตร

กะพังสุรินทร์ กะพังสุรินทร์ (รีวิว 3 รายการ)

ห่าง 1.27 กิโลเมตร

หอนาฬิกาตรัง หอนาฬิกาตรัง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.69 กิโลเมตร

ศาลเจ้าพ่อหมื่นราม ศาลเจ้าพ่อหมื่นราม (รีวิว 4 รายการ)

ห่าง 1.75 กิโลเมตร

ภาพเขียนต้นศรีตรัง ภาพเขียนต้นศรีตรัง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.79 กิโลเมตร

บ้านนายชวน หลีกภัย บ้านนายชวน หลีกภัย (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.92 กิโลเมตร

คริสตจักรตรัง คริสตจักรตรัง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.08 กิโลเมตร

ภาพเขียน สามมิติ ถ้ำมรกต ภาพเขียน สามมิติ ถ้ำมรกต (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.13 กิโลเมตร

ถนนคนเดินตรัง ถนนคนเดินตรัง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.29 กิโลเมตร

สวนสมเด็จศรีนครินทร์ สวนสมเด็จศรีนครินทร์ (รีวิว 3 รายการ)

ห่าง 2.81 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

เรือรัษฎา บัดเจ็ตโฮเต็ล เรือรัษฎา บัดเจ็ตโฮเต็ล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.14 กิโลเมตร

ฮ็อป อินน์ ตรัง ฮ็อป อินน์ ตรัง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.38 กิโลเมตร

เซเว่นเดย์อะวีค รีสอร์ท เซเว่นเดย์อะวีค รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.89 กิโลเมตร

โรงแรม บ้านอ่าวทอง โรงแรม บ้านอ่าวทอง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.91 กิโลเมตร

โรงแรมเรือรัษฎา โรงแรมเรือรัษฎา (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.91 กิโลเมตร

เดอะ ทรี สลีป แอนด์ สเปซ เดอะ ทรี สลีป แอนด์ สเปซ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.92 กิโลเมตร

การ์เด้น ฮิลล์ แมนชั่น การ์เด้น ฮิลล์ แมนชั่น (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.94 กิโลเมตร

บ้านพักชายทุ่งรีสอร์ท ตรัง บ้านพักชายทุ่งรีสอร์ท ตรัง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.96 กิโลเมตร

นกฮูกเฮ้าส์ นกฮูกเฮ้าส์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.10 กิโลเมตร

นารา เรสซิเดนซ์ ตรัง นารา เรสซิเดนซ์ ตรัง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.25 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

ขนมปอดควายโกหุน เจ้าเก่า ขนมปอดควายโกหุน เจ้าเก่า (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.54 กิโลเมตร

ร้านอาหารบ้านสุวิมล ร้านอาหารบ้านสุวิมล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.91 กิโลเมตร

ทางเลือก ทางเลือก (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.20 กิโลเมตร

ร้านพงษ์โอชา 2 ร้านพงษ์โอชา 2 (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 1.20 กิโลเมตร

เรือนไทยติ่มซำ เรือนไทยติ่มซำ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.25 กิโลเมตร

ซิทโอคล็อค ซิทโอคล็อค (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 1.80 กิโลเมตร

พงษ์โอชา 2 พงษ์โอชา 2 (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.87 กิโลเมตร

บัลโคนี บัลโคนี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.95 กิโลเมตร

ร้าน ทางเลือก อาหารเพื่อสุขภาพ ร้าน ทางเลือก อาหารเพื่อสุขภาพ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.99 กิโลเมตร

หมูย่างเมืองตรัง  โกเภา หมูย่างเมืองตรัง โกเภา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.02 กิโลเมตร